หลักการทำเว็บให้ติดการค้นหาง่าย SEO (Search Engine Optimization)


สร้างเว็บขึ้นมา แต่คนเข้าไม่กี่คน แถมค้นหาในGoogle หรือเว็บค้นหาต่างๆไม่พบ เป็นปัญหาที่เจ้าของเว็บอาจกลุ้มใจ ดังนั้นเรามีเข้าใจหลักการในการทำให้เว็บเราถูกค้นหาได้ตามหลักการดีกว่า


ซึ่งหากเราทำถูกต้องแล้ว มั่นใจเถอะว่าเราจะเป็นหนึ่งในสารบัญเว็บในGoogle หรือ อื่นๆอย่างแน่นอน อยู่ที่ว่าจะเร็วหรือช้า ซึ่งส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับการUpdate และ การขยันโปรโมทเพิ่มเติมด้วย

SEO คืออะไร 
SEO (เอสอีโอ) มาจากคำว่า Search Engine Optimization “เป็นการปรับแต่งเว็บไซต์ โครงสร้างเว็บไซต์ รวมไปถึงการโปรโมท เว็บไซต์ เพื่อให้ Search Engine ต่างๆ สามารถค้นหาและรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของเราได้สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งผลจากการทำ SEO ก็จะทำให้ เว็บไซต์ของเราอยู่ในอับดับ ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine (เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, MSN, Yahoo,  เป็นต้น)
ผลที่ตามมา ก็คือเว็บไซต์ของเราจะมีคนเข้ามามากขึ้น การค้าขาย ให้บริการต่างๆ ได้ลูกค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้น”

SEO สำคัญยังไง
 อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คำค้น) ป้อนลงไปใน Search Engine Box ต่างๆ ก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็น มีให้เลือกเปรียบเทียบอีกหลายๆ แห่ง สำหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้ว ก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์ เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ต้นๆ หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆ เผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า หรือบริษัทของตัวเอง

หลักการทำ SEO ทำได้อย่างไร
การทำ SEO ทำได้ 2 ทาง หลักๆ คือ..
1. On Page คือ การทำในเว็บไซต์ของเรา เป็นการปรับแต่งโคร่งสร้างต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของเรา
2. Off Page คือ การทำภายนอกเว็บไซต์ ก็คือการมีลิงค์จากเว็บอื่นมาที่เว็บของเรา เช่น ฝากลิงค์ ตามเว็บ บอร์ด เว็บลงประกาศฟรี ฯลฯ
รู้จักคีย์เวิร์ด
คีย์ เวิร์ด ก็คือ คำ ที่ใช้ในการ ค้นหา ใน Search Engine เพื่อให้เจอกับเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำนั้น ๆ


การทำ  SEO On-Page (ทำภายในเว็บไซต์)
เทคนิคการเขียน Title และ Description
Title และ Description คือ หัวข้อ (หรือ หัวเรื่อง) และ  คำอธิบาย ของเว็บไซต์ และที่สำคัญมันจะไปแสดงอยู่ในหน้า Google ครับ ในบรรทัด ที่ 1 และ 2-3 ตามลำดับ ดังนนั้น เราจะเขียนยังไง ให้เว็บติดอันดับต้นๆ จะเขียนยังไงให้คนอยากจะคลิก มาดูกันครับ

การเขียน Title 
การเขียน Title ควรมีจำนวนตัวอักษร 65 ตัวอักษร (ใช้ ให้ขาด ให้เกิน น้อยที่สุดยิ่งดีครับ ถ้าสงสัยลองนับดูหน้า Google ครับ) ถ้ามากกว่านั้น Google ก็แสดงไม่หมด ส่วนการเขียน Title ที่ดีนั้น ควรจะเขียน ให้เป็นประโยคที่อ่านแล้วน่า คลิก สื่อถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้ดี และที่สำคัญ ควรสอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ดเข้าไปให้มากที่สุด แต่อย่างมากจนหน้าเกลียด และที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีความหมาย และเป็นประโยค ด้วยครับ

การเขียน Description 
การเขียน Description มีจำนวนตัวอักษร 155 ตัวอักษร (ใช้ให้ขาด ให้เกิน น้อยที่สุดยิ่งดี ถ้าสงสัยลองนับดูหน้า Google ) ในการเขียนก็ใช้หลักการเดียวกับ การเขียน  Title

เนื้อหาภายในเว็บไซต์ ควรสอดคล้อง กับคีย์เวิร์ด และ สอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ด
ใน การเขียนบทความ หรือ เนื้อหา ให้กับเว็บไซต์ ควรพูดถึงเรื่องๆเดียวกันกับคีย์เวิร์ด และที่สำคัญควรสอดแทรกด้วยคีย์เวิร์ดให้มากที่สุด แต่ไม่มากจนน่าเกลียด และต้องอ่านแล้วได้ใจความด้วยครับ

ใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพ
นอกจากการตั้งชื่อ ไฟล์ด้วยคีย์เวิร์ดแล้ว เราก็ควรจะใส่คำอธิบายให้กับรูปภาพทุกรูปด้วยครับ Google จะได้ Index รูปภาพของเราด้วย เช่น

เพิ่มบทความหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้กับเว็บไซต์ สม่ำเสมอ
อย่าง ที่รู้กันนะครับว่า Google จะชอบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใหม่ๆ ไม่ซ้ำกับเว็บไซต์อื่นๆ ยิ่งเว็บไซต์ไหนมีการอัพเดทเนื้อหาอยู่บ่อยๆ Bot ของ Google ก็จะเข้ามาเก็บข้อมูลบ่อยๆ เช่นกัน  ส่วนในการเพิ่มบทความใหม่ๆ เข้าไปในเว็บไซต์นั้น อาจะเพิ่มวัน 3-4 บทความ (ถ้ามีเวลา) หรือ อย่างน้อย 2-3 วัน สัก 1 บทความก็ยังดีครับ

 TAG สำคัญ

ข้อความ
ใช้กับประโยคที่เป็นหัวข้อหลัก บ่งบอกถึงเนื้อหาภายในเว็บเพจ และที่สำคัญควรมีแค่ หัวข้อเดียว แล้วก็ ควรสอดแทรกคีย์เวิร์ดเข้าไปด้วย
<ข้อความ> ใช้กับประโยคที่เป็นหัวข้อที่มีความสำคัญรองลงมา มีได้มากกว่าหนึ่งหัวข้อ
ข้อความ ใช้เน้นคำที่มีความสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ด

Tag ที่ขาดไม่ได้

Title เป็นสิ่งที่สำคัญเลยครับ เป็นหัวข้อหลัก บ่งบอกเนื้อหาภายในเว็บไซต์ จะแสดงในบรรทัดที่ 1 ของ Google ครับ ตัวอย่าง รับออกแบบเว็บไซต์ ทำเว็บไซต์  ด้วยระบบ CMS JOOMLA

Description เป็นคำอธบายของเว็บไซต์ ทำให้บอกรู้ได้ว่าเว็บไซต์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ตัวอย่าง

Keywords ควรใส่ไม่เกิน 10 คำ แล้วก็คั่นด้วยเครื่องหมาย "," ตัวอย่าง

Tag เหล่านี้ อยู่ในส่วนของ โค้ด

ควรมีลิงค์ไปยังเว็บเพจหน้าอื่นบ้าง
ใน การเขียนบทความในแต่ละครั้ง ถ้าเราเจอคีย์เวิร์ดต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ บทความที่เราเขียนมาก่อนหน้านี้แล้ว เราก็ควรที่จะทำลิงค์ หรือใส่ลิงค์ไปหา บทความนั้นๆ ด้วย เพราะ Google จะได้อยู่ในเว็บไซต์ของเรานานๆ และสามารถเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ได้ครบทุกหน้า
เพิ่มคำอธิบายภาพ
ตัวอย่างเช่น ผมได้เขียนบทความเรื่อง SEO เสร็จแล้ว ผมก็ไปเขียนบทความอื่นต่อไป พอดีว่าไปเจอ คำว่า  SEO ในบทความนั้น ผมก็เลยใส่สิงค์ให้กับคำว่า SEO ให้ลิงค์ไปยังบทความ เรื่อง SEO ที่ผมได้เขียนเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ฯลฯ ถ้าเป็นเว็บไซต์ ระบบ CMS ก็จะมีเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้อยู่แล้วครับ

ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรมีลิงค์ออกนอกเว็บไซต์
ก็คือไม่ควรใส่ลิงค์ ให้เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ภายนอก โดยไม่จำเป็น  เพราะจะทำให้ค่า PR ของเรารั่วไหลไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ได้

ถ้ามีความจำเป็นต้องทำลิงค์ออกนอกเว็บไซต์
ในกรณีที่เราจะเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ ภายนอก ให้เราใส่ nofollow link เข้าไปด้วย
ตัวอย่าง ข้อความ

   การทำ  SEO  Off Page (ทำภายนอกเว็บไซต์) 
การทำ SEO ภายนอกเว็บไซต์ ก็จะเป็นการฝากลิงค์ หรือ หา แบ็คลิงค์ (Back Link )
แบ็ค ลิงค์ คืออะไร แบ็คลิงค์ ก็คือ ลิงค์ที่เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ ภายนอก หรือ เว็บไซต์ อื่นๆ มาหาเว็บไซต์ ของเรา ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ก็ทำให้เว็บไซต์ของเรายิ่งมีค่าในสายตาของ Google มากเท่านั้น

และอีกประการที่จะเป็นทางลัดอย่างรวดเร็วคือ การลงทุนโฆษณากับ Google Adwords แบบนี้เสียเงิน แต่ได้ผลเร็วทันตาเห็น

ความคิดเห็น